ชุดโครงการวิจัยการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตแบบบูรณาการเพื่อการปรับตัวสู่วิถีใหม่ในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด 19
ชื่อผลงาน : การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตแบบบูรณาการเพื่อการปรับตัวสู่วิถีใหม่ในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด 19
ที่มาและความสำคัญของโครงการ :
เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 เป็นอุบัติการณ์ใหม่ เป็นสาเหตุให้ระบบสาธารณสุขต้องมีการปรับรูปแบบใหม่ในการให้บริการหลายประการ การค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต การพัฒนาวิธีหรือแบบคัดกรองอย่างง่ายเพื่อค้นหาและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต และการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตแบบบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพจะก่อผลประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนการป้องกัน ดูแล รักษาปัญหาสุขภาพจิต และมุ่งเน้นให้บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนปลอดภัยจากผลกระทบด้านสุขภาพจิต มีความเข้มแข็งทางจิตใจ สามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยบูรณาการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตเชิงรุก ควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต พัฒนารูปแบบการค้นหาคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตเชิงรุกด้วยแนวทางใหม่ (Active Screening) พัฒนานวัตกรรม/เทคโนโลยี/องค์ความรู้ด้านสุขภาพจิต นำไปสู่การป้องกันดูแลรักษาเพื่อการปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่ในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตลอดจนประชาชนกลุ่มเปราะบางและประชาชนทั่วไป
ผลผลิตจากงานวิจัย :
1.ได้องค์ความรู้ในการป้องกันหรือรับมือจากการถูกตีตราทางสังคม / การลดภาวะหมดไฟในบุคลากรทางการแพทย์ จากการระบาดโควิด 19หรือโรคระบาดอื่นๆ
2.สื่อความรู้และบทเรียนออนไลน์ที่ใช้เวลาเข้าร่วมน้อย และทำได้ไม่ยาก
3.แนวทางในการนำไปใช้ในหน่วยงาน องค์กร หรือชุมชนต่างๆในประเทศ เพื่อเฝ้าระวังและดูแลจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์วิกฤตหรือโรคระบาดอื่นๆ
4.ได้ข้อมูลเชิงระบบเพื่อนำเสนอระดับผู้บริหารในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับบุคลากรหน้าด่านที่ปฏิบัติงานในช่วงการระบาดของโควิด 19 หรือโรคระบาดอื่นๆ
การนำไปใช้ประโยชน์ :
1. สามารถค้นหาและแยกผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤตหรือโรคระบาดได้สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย
2. ลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสเข้าถึงการปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้นจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตหรือโรคระบาด
3. แบบประเมินสุขภาพจิต และโปรแกรมออนไลน์การป้องกันและรักษาปัญหาสุขภาพจิต มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบการรักษาที่มีบริบทหลากหลายและแตกต่างกัน
ด้านสังคม
1.ลดผลกระทบด้านสุขภาพจิต Stress Anxiety Depression Insomnia Burnout Suicide ในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด 19
2.เพิ่มความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สามารถรับมือและปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่ในบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้
ด้านนโยบาย
1.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและดูแลบุคลากรด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมในช่วงการระบาดของโควิด 19 เช่น การกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับบุคลากรหน้าด่านที่ปฏิบัติงาน คิดเป็น 70 % (High)
2.เพิ่มศักยภาพในการคัดกรองและดูแลรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 / โรคระบาดอื่นๆ ที่นำไปใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ คิดเป็น 75 % (High)