การวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID-19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ
ชื่อผลงาน : ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID – 19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ
ที่มาและความสำคัญของโครงการ :
ระบบรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ระบบรายงานอื่น (Report based) และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ บนอุปกรณ์มือถือ เพื่อจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด ไม่ได้เชื่อมต่อให้ทำงานร่วมกันทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้น ขณะที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่า การใช้ระบบสารสนเทศบูรณาการมีส่วนช่วยอย่างมากในการบริหารจัดการวิกฤตการระบาดของโรคในประเทศต่าง ๆ จึงต้องมีการบูรณาการระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID – 19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ
ผลผลิตจากงานวิจัย :
ต้นแบบระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID – 19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ ประกอบด้วย ฐานข้อมูลรูปแบบใหม่ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางซึ่งเชื่อมโยงจาก HIS 21 รพ.ต้นแบบ เป็น Real time, API เชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ, Dashboard แสดงข้อมูลสำหรับบริหารจัดการโควิดและบุคคล, ระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย, ระบบ Inform-consent ตามกฎหมายและ GDPR, แนวทางและบุคลากรที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบูรณาการเพื่อนำไปขยายผล
การนำไปใช้ประโยชน์ :
– โรงพยาบาลในพื้นที่นำร่อง 7 จังหวัด จำนวนระบบบูรณาการฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID – 19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ 1 ระบบ 21 โรงพยาบาลมีโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างละ 1 แห่งทุกจังหวัด
– โดยการลดลงของผู้ติดเชื้อโควิดสามารถลดการสูญเสียภาระโรคได้ 1,029 € ต่อราย ขณะที่ความสูญเสียต่อการเสียชีวิตลดลง 84,836 € ต่อราย เมื่อคำนวณ Year life lost จากงานวิจัยของ EU หากการใช้ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสำหรับจัดการ COVID – 19 และรองรับโรคอุบัติการณ์ใหม่ในอุดมคติ ในพื้นที่ 7 จังหวัดเฉพาะที่โรงพยาบาล 21 แห่งรับผิดชอบ พื้นที่ 7 จังหวัดป่วยสะสมมากกว่า 50,000 ราย เสียชีวิตมากกว่า 350 ราย หากลดการติดเชื้อและเสียชีวิตได้ 20% ผลกระทบคิดเป็นมูลค่าจะเกิน 100 เท่าของทุนวิจัย